แนะนำภาคเทคโนโลยีชีวภาพ
Biotechnology
ประวัติภาควิชา
เทคโนโลยีชีวภาพ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2534 และเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2535
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่ไปกับการมีความรู้ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เข้ากับองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีเพื่อให้ได้แนวทางการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ท่ามกลางบริบทในสังคมที่มีการแข่งขันสูง การจัดตั้งภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มศักยภาพของเยาวชนรุ่นใหม่ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นการขยายโอกาศทางการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เปิดรับนักศึกษาเข้าศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตและระดับบัณฑิตศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 4 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2535 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2551 หลักสูตรวิทยาศาตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2544 และหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2558
ปัจจุบันเปิดสอน จำนวน 8 หลักสูตร ประกอบด้วย
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
จุดเด่นของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่บูรณาการศาสตร์หลายสาขาเข้าด้วยกัน โดยเน้นศาสตร์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิทยาศาสตร์ชีวภาพประยุกต์ หลักสูตรจัดให้มีการเรียนการสอนจากคณาจารย์ที่จบการศึกษาในสาขานั้นๆ โดยตรงทั้งจากสถาบันการศึกษาชั้นนำในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้รายวิชาในหลักสูตรยังเน้นให้มีการทัศนศึกษานอกสถานที่เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสเรียนรู้กระบวนการจริงในอุตสาหกรรม
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
จุดเด่นของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่รวมศาสตร์ด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพประยุกต์ โดยอาศัยโอกาสที่นักศึกษาสามารถศึกษารายวิชาต่างๆด้านวิศวกรรมศาสตร์จากภาควิชาต่างๆ ภายในคณะ และรายวิชาด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพจากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพเอง และบูรณาการทั้ง 2 ศาสตร์ โดยการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆในสาขาโดยคณาจารย์ที่จบการศึกษาด้านนี้โดยตรงจากต่างประเทศ
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
จุดเด่นของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่บูรณาการศาสตร์หลายสาขาเข้าด้วยกัน โดยเน้นศาสตร์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิทยาศาสตร์ชีวภาพประยุกต์ หลักสูตรจัดให้มีการเรียนการสอนจากคณาจารย์ที่จบการศึกษาในสาขานั้นๆ โดยตรงทั้งจากสถาบันการศึกษาชั้นนำในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้รายวิชาในหลักสูตรยังเน้นให้มีการทัศนศึกษานอกสถานที่เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสเรียนรู้กระบวนการจริงในอุตสาหกรรม
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
จุดเด่นของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่รวมศาสตร์ด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพประยุกต์ โดยอาศัยโอกาสที่นักศึกษาสามารถศึกษารายวิชาต่างๆด้านวิศวกรรมศาสตร์จากภาควิชาต่างๆ ภายในคณะ และรายวิชาด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพจากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพเอง และบูรณาการทั้ง 2 ศาสตร์ โดยการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆในสาขาโดยคณาจารย์ที่จบการศึกษาด้านนี้โดยตรงจากต่างประเทศ
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
จุดเด่นของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎี สามารถคิดวิเคราะห์ ติดตามความก้าวหน้าทางวิทยาการในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพด้านต่าง ๆ ตลอดจนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อพัฒนางานประเภทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถบูรณาการความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาไทยให้เข้ากับงานวิจัยระดับสากลโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม
และวัฒนธรรม มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ทั้งนี้ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพมีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพหลายด้าน ซึ่งมีศักยภาพพร้อมที่จะผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ ได้แก่ ชีวโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมด้านพืชและจุลินทรีย์ เทคโนโลยีตัวเร่งชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีเซลล์สัตว์ เทคโนโลยีของเซลล์และเนื้อเยื่อพืช เทคโนโลยีพลังงานชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
จุดเด่นของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎี สามารถคิดวิเคราะห์ ติดตามความก้าวหน้าทางวิทยาการในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพด้านต่าง ๆ ตลอดจนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อพัฒนางานประเภทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถบูรณาการความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาไทยให้เข้ากับงานวิจัยระดับสากลโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม
และวัฒนธรรม มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ทั้งนี้ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพมีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพหลายด้าน ซึ่งมีศักยภาพพร้อมที่จะผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ ได้แก่ ชีวโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมด้านพืชและจุลินทรีย์ เทคโนโลยีตัวเร่งชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีเซลล์สัตว์ เทคโนโลยีของเซลล์และเนื้อเยื่อพืช เทคโนโลยีพลังงานชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
จุดเด่นของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อมุ่งเน้นการเตรียมกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพในการสร้างสรรค์และพัฒนางานวิจัย สามารถสร้างองค์ความรู้ของตนเองเพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอก ตลอดจนสามารถบูรณาการองค์ความรู้ที่มีกับวิทยาการหรืองานสร้างสรรค์อื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบตามระเบียบวิธีวิจัย นอกจากนี้การผลิตดุษฎีบัณฑิตในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ จะมีบทบาทสำคัญในการนำศักยภาพของประเทศไทยด้านทรัพยากรชีวภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นหลักการสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแบบยั่งยืน
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
จุดเด่นของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อมุ่งเน้นการเตรียมกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพในการสร้างสรรค์และพัฒนางานวิจัย สามารถสร้างองค์ความรู้ของตนเองเพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอก ตลอดจนสามารถบูรณาการองค์ความรู้ที่มีกับวิทยาการหรืองานสร้างสรรค์อื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบตามระเบียบวิธีวิจัย นอกจากนี้การผลิตดุษฎีบัณฑิตในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ จะมีบทบาทสำคัญในการนำศักยภาพของประเทศไทยด้านทรัพยากรชีวภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นหลักการสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแบบยั่งยืน
ข้อมูลติดต่อของภาควิชา
สำนักงาน : ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ อยู่ชั้น 2 อาคาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
เบอร์โทร :034 109686 ต่อ 209200
เบอร์โทร : 034-300463
Website : http://www.eng.su.ac.th/biotechnology/
Facebook : https://www.facebook.com/BiotechnologySU