แนะนำภาคเทคโนโลยีอาหาร

Department of Food Technology

ประวัติภาควิชา

ภาควิชาเทคโนโลยีอาหารมีนโยบายเน้นการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาของอุตสาหกรรม แม้ว่าในปัจจุบันมีนักเทคโนโลยีอาหารที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก แต่นักเทคโนโลยีอาหารที่มีทักษะในเชิงลึก และสามารถแก้ไขปัญหาของโรงงานอุตสาหกรรมอาหารได้มีอยู่เป็นจำนวนจำกัด ซึ่งการพัฒนานักเทคโนโลยีอาหารที่สามารถแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมอาหารได้ ต้องอาศัยการผสมผสานความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีและด้านการจัดการ เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งให้มีการสร้างนวัตกรรมในประเทศโดยการผสานองค์ความรู้ด้านต่างๆ ดังนั้นคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จึงมีความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร เพื่อจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศต่อไป การจัดการเรียนการสอนของภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร ได้มีการพัฒนาปรังปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยมีการจัดกลุ่มวิชาโท ให้นักศึกษาได้เลือกตามความถนัด 2 กลุ่มวิชาได้แก่ วิชาโทเทคโนโลยีกระบวนการแปรรูป และวิชาโทพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารโดยมีกลุ่มวิชาที่สำคัญดังนี้ การแปรรูปอาหาร จุลชีววิทยาทางอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ วิศวกรรมอาหาร การประเมินคุณภาพอาหารทางประสาทสัมผัส เคมีอาหาร และการควบคุมคุณภาพ

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

พัฒนาและถ่ายทอดความรู้ทางด้านเทคโนโลยีอาหาร และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อเสริมสร้างบุคคลให้มีความรู้ในวิชาชีพ มีสติปัญญา ความคิด และความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคม ค้นคว้า วิจัย และสร้างสรรค์ผลงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีอาหาร และพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ ให้บริการทางวิชาการด้านเทคโนโลยีอาหาร และพัฒนาผลิตภัณฑ์ แก่สังคม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน และพัฒนาความสามารถในการแข่งขันระดับชาติและนานาชาติ สืบสานและทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรมอันดีงามทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ พัฒนาระบบการบริหารจัดการในระดับภาควิชาให้มีประสิทธิภาพ

ปัจจุบันเปิดสอน จำนวน 6 หลักสูตร ประกอบด้วย

ระดับปริญญาตรี

ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน มีความโดดเด่นทั้งในด้านจำนวนนักศึกษาที่รับเข้าและคุณภาพของอาจารย์ประจำหลักสูตร รวมทั้งบัณฑิตที่จบการศึกษาได้รับการยอมรับจากนายจ้างสูง นอกจากนี้หลักสูตรยังได้เริ่มการนำการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาใช้ในส่วนหนึ่งของรายวิชาที่เปิดสอนอยู่ พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจมากกับการเรียนแบบนี้ และนักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาที่เข้าเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กำหนดให้หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอาหาร เป็นหลักสูตรที่มีวิชาเอก 1 สาขาวิชา คือ สาขาเทคโนโลยีอาหาร และกำหนดให้มีวิชาโท 3 สาขาวิชา คือ วิชาโทสาขาวิชาเทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร วิชาโทสาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและวิชาโทสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางประสาทสัมผัส

ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน มีความโดดเด่นทั้งในด้านจำนวนนักศึกษาที่รับเข้าและคุณภาพของอาจารย์ประจำหลักสูตร รวมทั้งบัณฑิตที่จบการศึกษาได้รับการยอมรับจากนายจ้างสูง นอกจากนี้หลักสูตรยังได้เริ่มการนำการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาใช้ในส่วนหนึ่งของรายวิชาที่เปิดสอนอยู่ พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจมากกับการเรียนแบบนี้ และนักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาที่เข้าเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กำหนดให้หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอาหาร เป็นหลักสูตรที่มีวิชาเอก 1 สาขาวิชา คือ สาขาเทคโนโลยีอาหาร และกำหนดให้มีวิชาโท 3 สาขาวิชา คือ วิชาโทสาขาวิชาเทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร วิชาโทสาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและวิชาโทสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางประสาทสัมผัส

ระดับปริญญาโท

ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร ได้ออกแบบขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ และผลิตนักเทคโนโลยีอาหารที่มีความรู้ ทักษะ และความสามารถเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทยที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงขึ้น ตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 สำหรับการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นโดยใช้การวิจัยเป็นฐานแห่งการพัฒนาจะนำไปสู่การยกระดับนวัตกรรม และการจัดการรูปแบบใหม่ อันจะเป็นแนวทางไปสู่การสร้างความเข้มแข็งจากภายในและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทยอย่างสมดุลและยั่งยืนประเทศไทยที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงขึ้น ตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 สำหรับการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นโดยใช้การวิจัยเป็นฐานแห่งการพัฒนาจะนำไปสู่การยกระดับนวัตกรรม และการจัดการรูปแบบใหม่ อันจ

ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร ได้ออกแบบขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ และผลิตนักเทคโนโลยีอาหารที่มีความรู้ ทักษะ และความสามารถเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทยที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงขึ้น ตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 สำหรับการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นโดยใช้การวิจัยเป็นฐานแห่งการพัฒนาจะนำไปสู่การยกระดับนวัตกรรม และการจัดการรูปแบบใหม่ อันจะเป็นแนวทางไปสู่การสร้างความเข้มแข็งจากภายในและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทยอย่างสมดุลและยั่งยืนประเทศไทยที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงขึ้น ตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 สำหรับการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นโดยใช้การวิจัยเป็นฐานแห่งการพัฒนาจะนำไปสู่การยกระดับนวัตกรรม และการจัดการรูปแบบใหม่

ระดับปริญญาเอก

ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร ได้ออกแบบขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรม และผลิตนักเทคโนโลยีอาหารที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาขั้นสูง มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์องค์ความรู้ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดความรู้เดิมสู่การบูรณาการเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และมีความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทยที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงขึ้น ตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 สำหรับการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นโดยใช้การวิจัยเป็นฐานแห่งการพัฒนาจะนำไปสู่การ
ยกระดับนวัตกรรม และการจัดการรูปแบบใหม่ อันจะเป็นแนวทางไปสู่การสร้างความเข้มแข็งจากภายในและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทยอย่างสมดุลและยั่งยืน

ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร ได้ออกแบบขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรม และผลิตนักเทคโนโลยีอาหารที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาขั้นสูง มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์องค์ความรู้ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดความรู้เดิมสู่การบูรณาการเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และมีความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทยที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงขึ้น ตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 สำหรับการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นโดยใช้การวิจัยเป็นฐานแห่งการพัฒนาจะนำไปสู่การ
ยกระดับนวัตกรรม และการจัดการรูปแบบใหม่ อันจะเป็นแนวทางไปสู่การสร้างความเข้มแข็งจากภายในและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทยอย่างสมดุลและยั่งยืน

ข้อมูลติดต่อของภาควิชา

สำนักงาน : ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000

เบอร์โทร :034 109686 ต่อ 209300

โทรสาร :0-3427-2194

Website : http://www.foodtech.eng.su.ac.th/

Facebook : https://www.facebook.com/food.silpakorn/

ผศ.ดร. กนกวรรณ กิ่งผดุง

ผศ.ดร. ดวงใจ ถิรธรรมถาวร

ผศ.ดร. บุศรากรณ์ มหาโยธี

ผศ.ดร. ประสงค์ ศิริวงศ์วิไลชาติ

รศ.ดร. ปราโมทย์ คูวิจิตรจารุ

ผศ.ดร. ปริญดา เพ็ญโรจน์

ผศ.ดร. สุเชษฐ์ สมุหเสนีโต

รศ.ดร. โสภาค สอนไว

ผศ.ดร. อรุณศรี ลีจีรจำเนียร

ผศ.ดร. ธัชพงศ์ ชูศรี

ผศ.ดร. พรศรี เจริญพานิช

อ.ดร. สินี หนองเต่าดำ

อาจารย์ ดร. ภาริกา รุ่งพิชยพิเชฐ

อาจารย์ ดร. ขวัญใจ กลิ่นจงกล

อ.ดร. จันทร์จิรา ตั้งสันทัศน์กุล